Pin It

    วันที่ 19 มิถุนายน 2565 เวลา 09.00 น. มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง โดยคุณอรัณย์ โตทวด ผู้จัดการใหญ่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พร้อมด้วยคุณชญาน์นันท์ สรพลจิโรจเดชา หัวหน้าแผนกสื่อสารองค์กร(จีน) ร่วมงาน "รำลึกวันสถาปนา 87 ปี โยธินฯ ถิ่นคนดี" เพื่อรำลึกวาระครบรอบ 87ปี โรงเรียนโยธินบูรณะ พร้อมจัดกิจกรรมในวาระครบรอบฯ และเพื่อเป็นการสร้างความสามัคคีอันดีระหว่างครูอาวุโสและครูปัจจุบันรวมถึงระหว่างศิษย์เก่ารุ่นีพ่-รุ่นน้อง และศิษย์ปัจจุบัน โดยมี พล.อ.อ. ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี เป็นประธานในพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศล ถวายสังฆทานแด่ครูแบะศิษย์เก่าโรงเรียนโยธินบูรณะที่บ่วลับไปแล้ว และอุทิศส่วนกุศลแด่ รองหัวหมื่นพระอนุวัฒน์ราชนิยม (ยี่กอฮง) ซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดโรงเรียนโยธินบูรณะ ณ โรงเรียนโยธินบูรณะ
    8 มกราคม พ.ศ. 2460 รองหัวหมื่นพระอนุวัฒน์ราชนิยม (ฮง เตชะวณิช) ได้มีจิตศรัทธาสร้างโรงเรียนขึ้นในวัดสะพานสูง เขตบางซื่อ โดยมีอาคารเรียนไม้ 2 ชั้น เครื่องไม้ เสา คานไม้มุงกระเบื้องซีเมนต์ กว้าง 14 เมตร และยาว 25 เมตร แบ่งออกเป็นห้องเรียน 8 ห้อง ห้องประชุม 1 ห้อง และห้องพักครู 1 ห้อง และเมื่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2460 จึงได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานนามว่า "โรงเรียนอนุวัฒน์ศึกษาคาร"
จากนั้น รองหัวหมื่นพระอนุวัฒน์ราชนิยม (ฮง เตชะวณิช) ได้กราบบังคมทูลอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในพิธีเปิดโรงเรียน ซึ่งยังคงความปลาบปลื้มปิติเป็นล้นพ้นแก่คณะครูและนักเรียนของโรงเรียนนี้ พระราชดำรัสตอนหนึ่งในพิธีเปิดโรงเรียน ...ข้าพเจ้ามีความพอใจเป็นอันมากที่ได้รับเชิญไปยังโรงเรียนนี้ และได้มีโอกาสขอบใจ'''พระอนุวัฒน์ราชนิยม'''แทนกระทรวงธรรมการ ผู้เป็นเจ้าหน้าที่ และ'''โรงเรียนนี้ข้าพเจ้าได้รับไว้เป็นสถานศึกษาต่อไป''' อีกทั้งยังขอบใจแทนในนามกุลบุตรทั้งหลายบรรดาผู้ที่จะได้รับวิชาความรู้ไปเป็นประโยชน์แก่ตัวต่อไปในภายภาคหน้า และขอขอบใจแทนผู้มีหน้าที่ปกครองชาติ ที่ชาติไทยจะได้มีโอกาสได้พ่อเมืองสืบไป จากนักเรียนที่ได้ศึกษาในโรงเรียน
ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น "โรงเรียนโยธินบูรณะ" สืบมาจนปัจจุบัน ขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย

Follow Us

Most Read

  • Week

  • Month

  • All