Pin It

  วันที่ 7-8 กันยายน พ.ศ. 2567 มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ฝ่ายปฏิบัติการ แผนกบรรเทาสาธารณภัย นำโดย เจ้าหน้าที่กู้ชีพ กู้ภัย น.เขต นำ รถ น. พยาบาล รถกู้ภัยพร้อมอุปกรณ์กู้ภัย พร้อมนำทีมอาสาสมัครกู้ภัย มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง เข้าร่วมการฝึกซ้อมแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2567 ด้วยสถานการณ์จำลองเหตุสาธารณภัย ระดับ 2 (สาธารณภัยขนาดกลาง สถานการณ์อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตราย มีแนวโน้มที่สถานการณ์จะรุนแรงมากขึ้น) โดย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยมี รศ.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการฝึกซ้อมแผนฯ โดยหลังเสร็จสิ้นการฝึกซ้อมฯ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เข้าร่วมประชุมสรุปพร้อมประเมินผลการฝึกซ้อมฯ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ณ อาคารธานีนพรัตน์ และอาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 (ดินแดง) กรุงเทพฯ
.
“ สำหรับการฝึกซ้อมแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อซักซ้อมหน้าที่ความรับผิดชอบและหลักในการปฏิบัติของแต่ละหน่วยงานตามสถานการณ์สาธารณภัยที่กำหนด โดยได้จำลองเหตุการณ์การเกิดเพลิงไหม้จากรถยนต์ไฟฟ้า (EV) บริเวณชั้นใต้ดินชั้น 2 (ลานจอดรถใต้ดิน) อาคารไอราวัดพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานครดินแดง และลุกลามรถยนต์ที่จอดอยู่ข้างเคียงจำนวนหลายคันจนเกิดการระเบิดขี้น ตรวจพบมีผู้สูญหาย จำนวนกว่า 100 ราย และพบผู้ติดค้างบนอาคารสูง คือ อาคารธานีนพรัตน์ ซึ่งมีความสูง 37 ชั้น โดยสถานีดับเพลิงและกู้ภัยห้วยขวาง และสถานีดับเพลิงและกู้ภัยสุทธิสารไปยังที่เกิดเหตุ ร่วมด้วย ทีมค้นหาและกู้ภัยในเขตเมือง (USAR) ทีมกู้ภัยสารเคมี ศูนย์วิทยุอัมรินทร์ ศูนย์วิทยุผ่านฟ้า(อำนวยการจราจร) สน.ดินแดง ศูนย์เอราวัณ(จัดรถพยาบาล) ทีมโดรน ร่วมภารกิจ และมีผู้อำนวยการเขตดินแดง เป็นผู้บัญชาการเหตุ
.
ทั้งนี้ กรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินการซ้อมแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2567 โดยมีผู้บริหารและเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานกรุงเทพมหานครและภาคีเครือข่าย เข้าร่วมการซ้อม เพื่อสร้างความเข้าใจในบทบาทและการปฏิบัติตนตามขั้นตอนอย่างถูกต้องเมื่อเกิดเหตุสาธารณภัยในพื้นที่กรุงเทพมหานครมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2567 และได้กำหนดการฝึกซ้อมเฉพาะหน้าที่ (Functional Exercise) ในวันเสาร์ที่ 7 ก.ย.67 และการฝึกซ้อมเสมือนจริง (Full Scale Exercise) ในวันอาทิตย์ที่ 8 ก.ย.67 ณ อาคารธานีนพรัตน์ และอาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ดินแดง) ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร ได้เข้าใจกระบวนการจัดการสาธารณภัย การปฏิบัติการเผชิญเหตุ ระยะเวลาของกระบวนการปฏิบัติ กระบวนการในการถ่ายทอดสัญญาณให้ผู้อำนวยการเขตทั้ง 50 เขต ในฐานะผู้บัญชาการเหตุการณ์เมื่อเกิดเหตุสาธารณภัยได้เห็น เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุสาธารณภัยในพื้นที่ของตน” : ข้อมูลจาก กทม.

Follow Us

Most Read

  • Week

  • Month

  • All